วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงสร้างองค์กรของบริษัทข้ามชาติ

โครงสร้างองค์กรของบริษัทข้ามชาติ
แสดงออกมาในรูปแบบ Organization Chart แสดงให้เห็นโครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา
- โครงสร้างองค์กรแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ขององค์กร เพราะเป้าหมายขององค์กรสะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ขององค์กร และต้องจัดโครงสร้างองค์กรให้ตรงกับกลยุทธ์ขององค์กร

การจัดโครงสร้างมีหลายแบบ
- การแบ่งเป็นแผนกส่งออก
- ฝ่ายต่างประเทศ
- พิจารณาจากผลิตภัณฑ์
- พิจารณาจากพื้นที่
- พิจารณาจากหน้าที่
- แบบผสม
- แบบแมททริกซ์

แบบแมททริกซ์ เป็นการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีความหลากหลาย ใช้หลายวิธีผสมกันเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจในบางท้องถิ่นหรือบางผลิตภัณฑ์ การจัดโครงสร้างแบบนี้นิยมใช้กันในธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีผลิตภัณฑ์หลายชนิด การจัดโครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์มีได้ทั้งในรูปแบบสองมิติหรือหลายมิติ การแต่งตั้งผู้จัดการในแต่ละประเทศนั้น ใช้แนวคิดการสร้างบริษัทให้มีความเป็นสากล กิจการต้องกระจายอำนาจสูง เพื่อให้แข่งขันได้ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน และการบริหารแต่ละแห่งนั้นมาจากวิสัยทัศน์เดียวกันเพื่อความเป็นสากล

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

การบริหารการตลาดระหว่างประเทศ (Inter-Marketing Management)

การบริหารการตลาดระหว่างประเทศ (Inter-Marketing Management)
ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เราควรจะศึกษาข้อมูลของประเทศที่เราจะทำการลงทุนอย่างละเอียด ตามที่ได้อัพไปแร้วในคราวก่อน นอกเหนือจากนั้น เรายังต้องตัดสินใจว่าสินค้าของเราควรจะจัดจำหน่ายอย่างไรในประเทศเป้าหมายที่เราต้องการเข้าไปลงทุน โดยมี 3 รูปแบบหลักๆ คือ

1. คงรูปแบบเดียวกันทั่วโลก(standardization) หมายถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในทุกประเทศ ข้อดีก้คือเราไม่ต้องเสียต้นทุนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก้มีข้อเสียคืออาจต้องสุญเสียส่วนแบ่งตลาดในหลายแห่งในโลก
2. ปรับผลิตภัณฑ์เข้าหาท้องถิ่น (adaptation or customize) เพื่อให้ตรงกับความต้องการในแต่ละประเทศ ข้อดีคือทำให้เราสามารถขายสินค้าของเราได้เกือบทุกแห่งในโลก ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
3. เลือกที่จะปรับเพียงระดับหนึ่ง (adapt some part) รวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นสากล

IB edutainment 2009


IB edutainment 2009

ประทับใจกับงาน IB มากเรยค่ะ เพื่อนๆทุกกลุ่มก้ทำงานกันอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาถือว่าดีมากเรยค่ะ กลุ่มนู๋ทำประเทศอเมริกา ขอบอกว่ากว่าจะทำงานนี้ได้สำเร็จ เล่นเอาปางตายนะคะ 55+ แต่ผลงานออกมาก้ภูมิใจค่ะ พอเห็นบูธของกลุ่มตัวเองที่จัดเส็ดเรียบร้อยแร้ว หายเหนื่อยไปเยอะเรยค่ะ^-^ แร้วก้การแสดงบนเวทีวันที่ 29 ราบรื่นดี ทุกคนตั้งใจกันมาก แร้วผลงานออกมาแบบนี้ ก้หายเหนื่อยค่ะ ก่อนหน้านี้ตอนซ้อมการแสดงชิคาโก้ ยอมรับว่าท้อเอามากๆเรย เพราะว่าเต้นตามเพื่อนไม่ทัน อยากให้เพื่อนตัดตัวเองออกจากการแสดง แต่เพื่อนบอกให้สู้ๆ แต่นู๋ก้ไม่ได้ยอมแพ้นะคะ กลับมาหอก้ซ้อมทุกวัน นั่งนับจังหวะเพลง ซ้อมอยู่คนเดียวอย่างงั้น จนกว่าจะจำได้ พวกเราไปซ้อมที่กล้วยน้ำไทกันจนดึก เพราะพี่เบียร์คนสอนเต้น พี่เค้าอยู่กล้วยน้ำไทค่ะ งานทุกอย่างพวกเราก้ลุยกันเต็มที่ บางทีก้เหนื่อย บางทีก้ท้อ มีความคิดขัดแย้งกันบ้าง แต่ทุกอย่างก้ผ่านมาด้วยดีค่ะ งานนี้ทำให้เพื่อนๆรักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ดีใจและภูมิใจมากค่ะที่ได้ทำงานนี้ ^_______________^


ps. - ตอนคอมเม้น อาจารย์และพี่ๆโหดกันมากมาย^^" น่ากัวๆๆๆๆ...

- คืนวันที่ 28 มาทำงานและซ้อมกันที่มหาลัยจนดึก ลมพัดแรงมากบูธล้มไปหลายบูธ นู๋และเพื่อนๆอีกหลายคนได้ไปช่วยกันดันบูธประเทศจีนไว้ เพราะทำท่าว่าจะล้มแร้ว แต่ก้ดีค่ะที่ไม่มีบูธไหนเสียหายมากนัก

- วันแสดงเหนื่อยมาก นอนตี 2 ครึ่ง ตื่นตี 3 ครึ่ง สงสารเพื่อนๆมากมาย นู๋แต่งเป็น มาริรีน มอนโร อ.กู๊ด ชมว่าแต่งหน้าสวย ก้ดีใจค่ะ^-^ ทุ่มเทกันเต็มที่แร้วมีคนชม แหะๆๆ อ.เฟรซ ก้ถามว่าซ้อมเต้นชิคาโก้นานมั้ย? ดีใจนะคะที่อาจารย์สนใจการแสดง^-^ หวังว่าอาจารย์คงชอบนะคะ^0^ แต่เสียดายที่ไม่มีเวลาได้ถ่ายรูปกันเรยค่ะ นู๋เรยไม่ค่อยมีรูปตอนแต่งเป็น มาริรีน มอนโร

- สุดท้ายนี้ รักงานนี้มาก รักเพื่อนๆ รักพี่ๆ รักอาจารย์ ดีใจค่ะที่ได้เป็นเด็กIBM ^-^

การตลาดระหว่างประเทศ

การพิจารณาเลือกประเทศ (Country Evaluation & Selection)

1. การคัดเบือกเบื้องต้น (preliminary screening)
- สภาพทางกายภาพ (physical) เช่น ระยะทางระหว่างประเทศ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- สภาพทางจิตวิทยา (psychic) เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี ภาษาและพฤติกรรมต่างๆ
- สภาพทางเศรษฐกิจ (economic) เช่น ปัจจัยที่ส่งผลถึงอำนาจซื้อของประชาชน

2. การประมาณศักยภาพทางการตลาด (estimating market potentials by product type)
หมายถึงการประมาณอำนาจซื้อและแนวโน้มของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าแต่ละประเภท เพื่อพิจารณาศักยภาพทางการตลาด ซึ่งเป็นหน่วยขายหรือเงินตรา และจะต้องพิจารณาวัฒนธรรมประกอบด้วย ในกรณีที่หาข้อมูลของตลาดเป้าหมายได้ไม่เพียงพอ อาจจะใช้วิธีประมาณการเชิงเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนของตัวชี้วัดระหว่างประเทศเป้าหมายกับประเทศอื่นที่มีข้อมูล

3. การประมาณการยอดขาย (Estimating Sales Potential for Company's Product)
- สถานการณ์ทางการตลาดและการแข่งขันในประเทศนั้นๆ หมายถึงสภาพความรุนแรงในการแข่งขันในประเทศเป้าหมาย
- ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค หมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศเป้าหมาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
- กลไกในการจัดจำหน่ายของแต่ละประเทศ (channel of distribution) หมายถึงรูปแบบหรือวิธีการที่ผู้ผลิตนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบันมีแนวโน้มที่วิธีการนำเสนอสินค้าสู่มือผู้บริโภคกำลังปรับรูปแบบเข้าหากัน จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการจัดจำหน่าย
- สินค้าที่เสนอขาย หมายถึงสินค้าที่นำเสนอขายในตลาดต่างประเทศ สินค้าเหล่านั้นอาจจำหน่ายได้เลย หรือต้องมีการปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน

4. กำหนดส่วนแบ่งในตลาดเป้าหมาย (Identifying Segments in Target Market)
- การมุ่งที่ประเทศกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (concentration) หมายถึงการมุ่งขยายตลาดไปยังประเทศบางประเทศ และจำกัดอยู่ในบางกลุ่มของผู้บริโภคเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่กิจการขนาดเล็กนิยมใช้
- การกระจายสู่ผู้บริโภคหลายๆกลุ่มประเทศ (disversification) พบมากในกิจการข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ขยายตลาดไปทุกประเทศที่มีศักยภาพ

**จะเห็นได้ว่า เราต้องใส่ใจรายละเอียดทุกอย่างในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องศึกษาข้อมูลประเทศที่ต้องการเข้าไปลงทุนให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย