วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมาย

กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้

ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันใน
เครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น

ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และ
กฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น

ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้
ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น

ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น

***นอกจากกฎหมายที่อาจารย์สอนในห้อง 3 ระบบหลักแร้ว ก้จะมีระบบกฎหมายที่ 4 คือ ระบบกฎหมายผสมผสาน(Pluralistic Systems) ซึ่งเป็นการผสมผสานระบบกฎหมายอย่างน้อย 2 ระบบเข้าด้วยกัน

ps. อัพบล็อกช้า ขอโทดนะคะอาจารย์ นู๋เป็นไข้หวัดอ่าค่ะ (-_+)"

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

IB321

โลกาภิวัฒน์ (Globalization) คือ "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"

ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร

การจัดแผนกงาน (Departmentalization) คือ การแบ่งลักษณะงานขององค์กรที่ซับซ้อนให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นหน่วยเล็กลงที่เรียกว่าฝ่ายหรือแผนกงาน (Department)

ประธานกรรมการ เป็นผู้ควบคุมกิจการการดำเนินงานทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดูแลรักษาผลประโยชน์
ของ บริษัท คิดนโยบายการบริหาร
ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่วางแผนและปฏิบัติตามแนวความคิด การกำหนดราคา การส่งเสริมการตลาด
และการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการ
และความเป็นอยู่ของพนักงานภายในองค์กร
ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่คอยกำกับดูแลตรวจสอบการเงิน จำนวนรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน รายการ
จัดซื้อวัตถุดิบ การบริหารการเงิน
ฝ่ายการผลิต มีหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิต เช่น การจัดทำงบประมาณการผลิต กำหนด
รายการวัสดุ วางแผนกรรมวิธี ควบคุมการผลิต ติดตามงาน ควบคุมวัสดุคงคลัง
ฝ่ายบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของบริษัท
แผนกส่งออก เป็นแผนกที่นำสินค้าที่ผลิตแล้วจัดส่งออกไปจำหน่าย โดยใช้บุคลากรชุดหนึ่งแยก
จากแผนกอื่นๆ และมีการดูแลการส่งออกไปยังต่างประเทศ
แผนกจัดซื้อ เป็นแผนกจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตสินค้า ทำหน้าที่พิจารณาถึงชนิด คุณภาพ
ปริมาณในการซื้อและแหล่งที่จะซื้อ คำนึงถึงงบประมาณที่จะซื้อในแต่ละครั้ง

สภาพแวดล้อมต่างๆ (Environment)
1.ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ค่านิยมทางสังคม : ควรศึกษาค่านิยมที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม
- วัฒนธรรมและประเพณี : ศึกษาความแตกต่างของวัฒนธรรมและประเพณีในประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- โครงสร้างทางสังคม : ศึกษาจำนวนประชากร วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- ภาษา (Language) : เรียนรู้ภาษาทั้งพูดและเขียน กิริยาท่าทาง
- ศาสนา (Religion) : ศึกษาและทำความเข้าใจศาสนาและความเชื่อของประเทศที่จะทำธุรกิจ
2.ด้านการเมืองและกฎหมาย
- ศึกษากฎหมายของประเทศที่จะทำธุรกิจให้เข้าใจ และติดตามข่าวทางด้านการเมืองของประเทศนั้นๆ เพื่อประโยชน์และความคุ้มค่าของการลงทุนทำธุรกิจ
3.ด้านเศรษฐกิจ
- ศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศที่จะทำธุรกิจ เพื่อการวางแผนในการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค

กลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategies) คือ การวางแผนในการทำธุรกิจของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีแผนหรือวิธีการแตกต่างกันไป ตามแต่ธุรกิจที่ทำ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมากที่สุด สามารถทำให้สินค้าของเราเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีความน่าเชื่อถือ โดยหวังผลกำไรมากที่สุดและใช้ต้นทุนต่ำที่สุด

Globalization & International Business

ประเทศที่ได้อันดับ 1 จากการจัดอันดับประเทศที่เป็นโลกาภิวัฒน์มากที่สุด คือ ประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจาก ประเทศเบลเยี่ยม เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาสูง ประเทศเบลเยี่ยมเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรม มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี

ธุรกิจระหว่างประเทศ คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร

สาเหตุของความเจริญเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศ
1.การเจรจาการค้าระหว่างประเทศและการทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศ
2.การสร้างสรรค์ความปรารถนาในสินค้าและบริการที่เหนือกว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
3.การแพร่กระจายของเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน
4.การขนส่งที่รวดเร็วขึ้น
5.การเฉลี่ยต้นทุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
6.การพัฒนาของเครื่องมือรองรับธุรกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

โลกาภิวัฒน์ มีความสำคัญต่อ ธุรกิจระหว่างประเทศ มาก เนื่องจากว่า โลกาภิวัฒน์ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และทั่วถึง ทำให้มีการกระจายรายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

อ้างอิง
http://globalization.kof.ethz.ch/
อ้างอิง http://gotoknow.org/file/makkaroon/international_bus.ppt1.ppt

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

textbook

สวัสดีค่ะ ชาว IBM

สำหรับเทอมนี้ นอกจากหนังสือเรียนภาษาไทยแล้ว ครูยังเพิ่ม textbook ภาษาอังกฤษให้พวกเราอ่านแก้ง่วงด้วยอีกเล่ม ชื่อ International Business : Environments and Operations (12/e) โดย Daniels, Radebaugh, and Sullivan

ps. นู๋ว่า...นู๋ต้องง่วงกว่าเดิมแน่เรยค่ะอาจารย์ ความรู้ภาษาอังกิดยิ่งดีเลิศ คงแปลไม่ออก หลับแน่แท้ 55+

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โลกาภิวัฒน์

โลกาภิวัฒน์ (Globalization) คือ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การคมนาคมขนส่ง การติดต่อสื่อสาร ประชากรของโลกถูกหลอมหลวมเป็นสังคมเดียว ทำให้การรับรู้ข่าวสารต่างๆเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม-วัฒนธรรม ทั่วทั้งโลก

ความสำคัญและประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์ คือ
1.การติดต่อสื่อสาร - ทำให้การติดต่อสื่อสาร สะดวก รวดเร็ว ขึ้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายแม้จะอยู่ห่างไกล
2.การขนส่ง - ทำให้ย่นระยะเวลาในการขนส่ง เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเดินทาง

3.การเมือง - สามารถติดต่อปรึกษาด้านการเมืองการปกครองกันได้ง่าย ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดี
4.เศรษฐกิจ - มีตลาดร่วมของโลกในการติดต่อค้าขายกัน สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและทุนได้สะดวก
5.สังคม - สามารถบอกข่าวสารให้รับรู้ทั่วถึงกันทั้งโลกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง
6.วัฒนธรรม - ทำให้สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของต่างชาติได้ ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่น และอาจจะเกิดวัฒนธรรมประเภทใหม่ได้
7.การเงิน - ทำให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและทั่วถึง
8.อุตสาหกรรม - เกิดตลาดการผลิตขึ้นทั่วโลก และมีช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้กว้างขึ้น
9.นิเวศวิทยา - เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาระดับโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org