โครงสร้างองค์กรของบริษัทข้ามชาติ
แสดงออกมาในรูปแบบ Organization Chart แสดงให้เห็นโครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา
- โครงสร้างองค์กรแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ขององค์กร เพราะเป้าหมายขององค์กรสะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ขององค์กร และต้องจัดโครงสร้างองค์กรให้ตรงกับกลยุทธ์ขององค์กร
การจัดโครงสร้างมีหลายแบบ
- การแบ่งเป็นแผนกส่งออก
- ฝ่ายต่างประเทศ
- พิจารณาจากผลิตภัณฑ์
- พิจารณาจากพื้นที่
- พิจารณาจากหน้าที่
- แบบผสม
- แบบแมททริกซ์
แบบแมททริกซ์ เป็นการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีความหลากหลาย ใช้หลายวิธีผสมกันเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจในบางท้องถิ่นหรือบางผลิตภัณฑ์ การจัดโครงสร้างแบบนี้นิยมใช้กันในธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีผลิตภัณฑ์หลายชนิด การจัดโครงสร้างองค์กรแบบแมททริกซ์มีได้ทั้งในรูปแบบสองมิติหรือหลายมิติ การแต่งตั้งผู้จัดการในแต่ละประเทศนั้น ใช้แนวคิดการสร้างบริษัทให้มีความเป็นสากล กิจการต้องกระจายอำนาจสูง เพื่อให้แข่งขันได้ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน และการบริหารแต่ละแห่งนั้นมาจากวิสัยทัศน์เดียวกันเพื่อความเป็นสากล
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
การบริหารการตลาดระหว่างประเทศ (Inter-Marketing Management)
การบริหารการตลาดระหว่างประเทศ (Inter-Marketing Management)
ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เราควรจะศึกษาข้อมูลของประเทศที่เราจะทำการลงทุนอย่างละเอียด ตามที่ได้อัพไปแร้วในคราวก่อน นอกเหนือจากนั้น เรายังต้องตัดสินใจว่าสินค้าของเราควรจะจัดจำหน่ายอย่างไรในประเทศเป้าหมายที่เราต้องการเข้าไปลงทุน โดยมี 3 รูปแบบหลักๆ คือ
1. คงรูปแบบเดียวกันทั่วโลก(standardization) หมายถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในทุกประเทศ ข้อดีก้คือเราไม่ต้องเสียต้นทุนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก้มีข้อเสียคืออาจต้องสุญเสียส่วนแบ่งตลาดในหลายแห่งในโลก
2. ปรับผลิตภัณฑ์เข้าหาท้องถิ่น (adaptation or customize) เพื่อให้ตรงกับความต้องการในแต่ละประเทศ ข้อดีคือทำให้เราสามารถขายสินค้าของเราได้เกือบทุกแห่งในโลก ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
3. เลือกที่จะปรับเพียงระดับหนึ่ง (adapt some part) รวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นสากล
ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เราควรจะศึกษาข้อมูลของประเทศที่เราจะทำการลงทุนอย่างละเอียด ตามที่ได้อัพไปแร้วในคราวก่อน นอกเหนือจากนั้น เรายังต้องตัดสินใจว่าสินค้าของเราควรจะจัดจำหน่ายอย่างไรในประเทศเป้าหมายที่เราต้องการเข้าไปลงทุน โดยมี 3 รูปแบบหลักๆ คือ
1. คงรูปแบบเดียวกันทั่วโลก(standardization) หมายถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในทุกประเทศ ข้อดีก้คือเราไม่ต้องเสียต้นทุนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก้มีข้อเสียคืออาจต้องสุญเสียส่วนแบ่งตลาดในหลายแห่งในโลก
2. ปรับผลิตภัณฑ์เข้าหาท้องถิ่น (adaptation or customize) เพื่อให้ตรงกับความต้องการในแต่ละประเทศ ข้อดีคือทำให้เราสามารถขายสินค้าของเราได้เกือบทุกแห่งในโลก ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
3. เลือกที่จะปรับเพียงระดับหนึ่ง (adapt some part) รวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นสากล
IB edutainment 2009
IB edutainment 2009
ประทับใจกับงาน IB มากเรยค่ะ เพื่อนๆทุกกลุ่มก้ทำงานกันอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาถือว่าดีมากเรยค่ะ กลุ่มนู๋ทำประเทศอเมริกา ขอบอกว่ากว่าจะทำงานนี้ได้สำเร็จ เล่นเอาปางตายนะคะ 55+ แต่ผลงานออกมาก้ภูมิใจค่ะ พอเห็นบูธของกลุ่มตัวเองที่จัดเส็ดเรียบร้อยแร้ว หายเหนื่อยไปเยอะเรยค่ะ^-^ แร้วก้การแสดงบนเวทีวันที่ 29 ราบรื่นดี ทุกคนตั้งใจกันมาก แร้วผลงานออกมาแบบนี้ ก้หายเหนื่อยค่ะ ก่อนหน้านี้ตอนซ้อมการแสดงชิคาโก้ ยอมรับว่าท้อเอามากๆเรย เพราะว่าเต้นตามเพื่อนไม่ทัน อยากให้เพื่อนตัดตัวเองออกจากการแสดง แต่เพื่อนบอกให้สู้ๆ แต่นู๋ก้ไม่ได้ยอมแพ้นะคะ กลับมาหอก้ซ้อมทุกวัน นั่งนับจังหวะเพลง ซ้อมอยู่คนเดียวอย่างงั้น จนกว่าจะจำได้ พวกเราไปซ้อมที่กล้วยน้ำไทกันจนดึก เพราะพี่เบียร์คนสอนเต้น พี่เค้าอยู่กล้วยน้ำไทค่ะ งานทุกอย่างพวกเราก้ลุยกันเต็มที่ บางทีก้เหนื่อย บางทีก้ท้อ มีความคิดขัดแย้งกันบ้าง แต่ทุกอย่างก้ผ่านมาด้วยดีค่ะ งานนี้ทำให้เพื่อนๆรักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ดีใจและภูมิใจมากค่ะที่ได้ทำงานนี้ ^_______________^
ps. - ตอนคอมเม้น อาจารย์และพี่ๆโหดกันมากมาย^^" น่ากัวๆๆๆๆ...
- คืนวันที่ 28 มาทำงานและซ้อมกันที่มหาลัยจนดึก ลมพัดแรงมากบูธล้มไปหลายบูธ นู๋และเพื่อนๆอีกหลายคนได้ไปช่วยกันดันบูธประเทศจีนไว้ เพราะทำท่าว่าจะล้มแร้ว แต่ก้ดีค่ะที่ไม่มีบูธไหนเสียหายมากนัก
- วันแสดงเหนื่อยมาก นอนตี 2 ครึ่ง ตื่นตี 3 ครึ่ง สงสารเพื่อนๆมากมาย นู๋แต่งเป็น มาริรีน มอนโร อ.กู๊ด ชมว่าแต่งหน้าสวย ก้ดีใจค่ะ^-^ ทุ่มเทกันเต็มที่แร้วมีคนชม แหะๆๆ อ.เฟรซ ก้ถามว่าซ้อมเต้นชิคาโก้นานมั้ย? ดีใจนะคะที่อาจารย์สนใจการแสดง^-^ หวังว่าอาจารย์คงชอบนะคะ^0^ แต่เสียดายที่ไม่มีเวลาได้ถ่ายรูปกันเรยค่ะ นู๋เรยไม่ค่อยมีรูปตอนแต่งเป็น มาริรีน มอนโร
- สุดท้ายนี้ รักงานนี้มาก รักเพื่อนๆ รักพี่ๆ รักอาจารย์ ดีใจค่ะที่ได้เป็นเด็กIBM ^-^
การตลาดระหว่างประเทศ
การพิจารณาเลือกประเทศ (Country Evaluation & Selection)
1. การคัดเบือกเบื้องต้น (preliminary screening)
- สภาพทางกายภาพ (physical) เช่น ระยะทางระหว่างประเทศ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- สภาพทางจิตวิทยา (psychic) เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี ภาษาและพฤติกรรมต่างๆ
- สภาพทางเศรษฐกิจ (economic) เช่น ปัจจัยที่ส่งผลถึงอำนาจซื้อของประชาชน
2. การประมาณศักยภาพทางการตลาด (estimating market potentials by product type)
หมายถึงการประมาณอำนาจซื้อและแนวโน้มของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าแต่ละประเภท เพื่อพิจารณาศักยภาพทางการตลาด ซึ่งเป็นหน่วยขายหรือเงินตรา และจะต้องพิจารณาวัฒนธรรมประกอบด้วย ในกรณีที่หาข้อมูลของตลาดเป้าหมายได้ไม่เพียงพอ อาจจะใช้วิธีประมาณการเชิงเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนของตัวชี้วัดระหว่างประเทศเป้าหมายกับประเทศอื่นที่มีข้อมูล
3. การประมาณการยอดขาย (Estimating Sales Potential for Company's Product)
- สถานการณ์ทางการตลาดและการแข่งขันในประเทศนั้นๆ หมายถึงสภาพความรุนแรงในการแข่งขันในประเทศเป้าหมาย
- ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค หมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศเป้าหมาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
- กลไกในการจัดจำหน่ายของแต่ละประเทศ (channel of distribution) หมายถึงรูปแบบหรือวิธีการที่ผู้ผลิตนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบันมีแนวโน้มที่วิธีการนำเสนอสินค้าสู่มือผู้บริโภคกำลังปรับรูปแบบเข้าหากัน จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการจัดจำหน่าย
- สินค้าที่เสนอขาย หมายถึงสินค้าที่นำเสนอขายในตลาดต่างประเทศ สินค้าเหล่านั้นอาจจำหน่ายได้เลย หรือต้องมีการปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน
4. กำหนดส่วนแบ่งในตลาดเป้าหมาย (Identifying Segments in Target Market)
- การมุ่งที่ประเทศกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (concentration) หมายถึงการมุ่งขยายตลาดไปยังประเทศบางประเทศ และจำกัดอยู่ในบางกลุ่มของผู้บริโภคเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่กิจการขนาดเล็กนิยมใช้
- การกระจายสู่ผู้บริโภคหลายๆกลุ่มประเทศ (disversification) พบมากในกิจการข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ขยายตลาดไปทุกประเทศที่มีศักยภาพ
**จะเห็นได้ว่า เราต้องใส่ใจรายละเอียดทุกอย่างในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องศึกษาข้อมูลประเทศที่ต้องการเข้าไปลงทุนให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย
1. การคัดเบือกเบื้องต้น (preliminary screening)
- สภาพทางกายภาพ (physical) เช่น ระยะทางระหว่างประเทศ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- สภาพทางจิตวิทยา (psychic) เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี ภาษาและพฤติกรรมต่างๆ
- สภาพทางเศรษฐกิจ (economic) เช่น ปัจจัยที่ส่งผลถึงอำนาจซื้อของประชาชน
2. การประมาณศักยภาพทางการตลาด (estimating market potentials by product type)
หมายถึงการประมาณอำนาจซื้อและแนวโน้มของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าแต่ละประเภท เพื่อพิจารณาศักยภาพทางการตลาด ซึ่งเป็นหน่วยขายหรือเงินตรา และจะต้องพิจารณาวัฒนธรรมประกอบด้วย ในกรณีที่หาข้อมูลของตลาดเป้าหมายได้ไม่เพียงพอ อาจจะใช้วิธีประมาณการเชิงเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบอัตราส่วนของตัวชี้วัดระหว่างประเทศเป้าหมายกับประเทศอื่นที่มีข้อมูล
3. การประมาณการยอดขาย (Estimating Sales Potential for Company's Product)
- สถานการณ์ทางการตลาดและการแข่งขันในประเทศนั้นๆ หมายถึงสภาพความรุนแรงในการแข่งขันในประเทศเป้าหมาย
- ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค หมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศเป้าหมาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
- กลไกในการจัดจำหน่ายของแต่ละประเทศ (channel of distribution) หมายถึงรูปแบบหรือวิธีการที่ผู้ผลิตนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค ปัจจุบันมีแนวโน้มที่วิธีการนำเสนอสินค้าสู่มือผู้บริโภคกำลังปรับรูปแบบเข้าหากัน จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการจัดจำหน่าย
- สินค้าที่เสนอขาย หมายถึงสินค้าที่นำเสนอขายในตลาดต่างประเทศ สินค้าเหล่านั้นอาจจำหน่ายได้เลย หรือต้องมีการปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน
4. กำหนดส่วนแบ่งในตลาดเป้าหมาย (Identifying Segments in Target Market)
- การมุ่งที่ประเทศกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (concentration) หมายถึงการมุ่งขยายตลาดไปยังประเทศบางประเทศ และจำกัดอยู่ในบางกลุ่มของผู้บริโภคเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่กิจการขนาดเล็กนิยมใช้
- การกระจายสู่ผู้บริโภคหลายๆกลุ่มประเทศ (disversification) พบมากในกิจการข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ขยายตลาดไปทุกประเทศที่มีศักยภาพ
**จะเห็นได้ว่า เราต้องใส่ใจรายละเอียดทุกอย่างในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องศึกษาข้อมูลประเทศที่ต้องการเข้าไปลงทุนให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ดูงานมาม่า+ไหว้พระวัดใหญ่อินทาราม
14-08-09 ได้ไปดูงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เดินทางกันแต่เช้า หนุกหนานฮาเฮกานมาก อากาศไม่ร้อนเรย ฝนตกกันแต่เช้าเชียว
มาม่า
โรงงานดูใหญ่แร้วก้สะอาดมากมาย วิทยากรที่มาพูดก้ตลกสุดๆ ช๊อบ..ชอบ^0^
ฟังวิทยากรบรรยาย+ดูวีซีดีโครงการจบ ก้ได้ไปเดินดูการผลิตจริง ทันสมัยมากๆ
จากนั้นก้บูมกัน แร้วก้เดินทางไปหม่ำข้าวที่"ปะการัง"
ร้านอาหารปะการัง
ผิดคาดเล็กน้อย นึกว่าจะเห็นทะเลแบบเดินลงไปเล่นได้ แหะๆๆ แต่ที่เห็นคือ ฐานทัพโลจิสติกส์ 55+
นั่งหม่ำข้าวกานในร้าน ไม่ค่อยปลื้มอาหารเท่าไหร่ กินเส็ดก้ไปถ่ายรูปกัน แร้วก้ขึ้นรถไปไหว้พระกันต่อ
วัดใหญ่อินทาราม
ไปถึงวัดเจอน้องหมาน่าร้ากกกกกกกมากกกกกกกก สีดำตัวใหญ่ขนปุยๆ แต่มันไม่ยอมเล่นด้วย T^T
ก็เข้าไปดูวีซีดีเกี่ยวกับวัด แร้วก็ได้เดินดูภายในตัวโบสถ์ สวย+น่าขนลุกดี แหะๆๆ
- ได้แวะซื้อของฝากไปให้เพื่อนๆหม่ำด้วย
- ถ่ายรูปกันหนุกหนานทั้งงาน อิอิ
- อยากไปดูงานแบบนี้อีกจังเรย^-^
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
Five Forces Analysis (Diamond Model)
Five Forces Analysis (Diamond Model)
“Porter’s Five Competition Forces Model” ที่พัฒนาขึ้นมาโดยพอร์ตเตอร์ (Porter) เพื่อนำมาใช้ในประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งพอร์ตเตอร์เห็นว่ามีปัจจัยที่สำคัญที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ 5 ปัจจัย ได้แก่
(1)สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry) โดยการวิเคราะห์เกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งหมดที่มีอยู่ในธุรกิจเดียวกันโดยอาจต้องวิเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะกลไกการค้าเสรีในยุค โลกาภิวัฒน์ที่มีการเคลื่อนไหวทุนได้อย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่เป็นอยู่ การวิเคราะห์ขนาดของคู่แข่งขัน –กำลังการผลิต เงินทุน ส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน
(2)อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining Power of Customers) โดยการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการแข่งขันในทางธุรกิจสูงและผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยเฉพาะในแง่ของรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง
(3)อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต (Bargaining Power of Suppliers) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ ผู้ผลิตที่ขายวัตถุดิบต่าง ๆ ให้แก่บริษัทเรา โดยการวิเคราะห์การพึ่งพาจากผู้ผลิต ถ้าธุรกิจเราต้องมีการพึ่งพาผู้ผลิตรายหนึ่ง ๆ สูงก็จะมีความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจมากขึ้น เพราะถ้าผู้ผลิตรายนั้นไม่สามารถส่งวัตถุดิบได้ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเราทันที
(4)การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of new Entrants) โดยการวิเคราะห์ว่ามีความยากง่ายในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่มากน้อยเพียงใด ถ้าการเข้ามาของผู้ประกอบรายใหม่สามารถทำด้ง่ายและสะดวกก็จะต้องทำให้บริษัทอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจได้ง่าย
(5)การมีสินค้าและบริการอื่นทดแทน (Threat of Substitute) โดยการวิเคราะห์ว่าสินค้าและบริการที่บริษัทมีอยู่นั้น มีโอกาสหรือไม่ที่จะมีสินค้าและบริการอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าและบริการเดิมของบริษัท ซึ่งอาจทำให้รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลง รวมถึงส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงในอนาคต
(1)สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry) โดยการวิเคราะห์เกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งหมดที่มีอยู่ในธุรกิจเดียวกันโดยอาจต้องวิเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะกลไกการค้าเสรีในยุค โลกาภิวัฒน์ที่มีการเคลื่อนไหวทุนได้อย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่เป็นอยู่ การวิเคราะห์ขนาดของคู่แข่งขัน –กำลังการผลิต เงินทุน ส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน
(2)อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining Power of Customers) โดยการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการแข่งขันในทางธุรกิจสูงและผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยเฉพาะในแง่ของรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง
(3)อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต (Bargaining Power of Suppliers) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ ผู้ผลิตที่ขายวัตถุดิบต่าง ๆ ให้แก่บริษัทเรา โดยการวิเคราะห์การพึ่งพาจากผู้ผลิต ถ้าธุรกิจเราต้องมีการพึ่งพาผู้ผลิตรายหนึ่ง ๆ สูงก็จะมีความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจมากขึ้น เพราะถ้าผู้ผลิตรายนั้นไม่สามารถส่งวัตถุดิบได้ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเราทันที
(4)การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of new Entrants) โดยการวิเคราะห์ว่ามีความยากง่ายในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่มากน้อยเพียงใด ถ้าการเข้ามาของผู้ประกอบรายใหม่สามารถทำด้ง่ายและสะดวกก็จะต้องทำให้บริษัทอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจได้ง่าย
(5)การมีสินค้าและบริการอื่นทดแทน (Threat of Substitute) โดยการวิเคราะห์ว่าสินค้าและบริการที่บริษัทมีอยู่นั้น มีโอกาสหรือไม่ที่จะมีสินค้าและบริการอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าและบริการเดิมของบริษัท ซึ่งอาจทำให้รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลง รวมถึงส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงในอนาคต
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ PRODUCT LIFE CYCLE
Product Life Cycle วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
Product Life Cycle คือ การอธิบายให้เห็นว่าสินค้าโดยทั่วไปนั้น มีการเติบโตของยอดขายอย่างไรตั้งแต่ช่วงแรกของการเข้าสู่ตลาดจนถึงช่วงที่ยอดขายขึ้นสู่จุดสูงสุดและค่อยๆลดลง จนถึงจุดจบของสินค้าตัวนั้นๆ คือการออกไปจากตลาด
Product Life Cycle ประกอบด้วย 4 ช่วงเวลา โดยการกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mixs) สำหรับสินค้าในแต่ละช่วงของ Product Life Cycle มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง Promotion ซึ่ง Product Life Cycle นั้น ประกอบไปด้วย
1. Introduction (ช่วงแนะนำสินค้าสู่ตลาด) เป็นช่วงแรกของการวางตลาดเพื่อขายสินค้าดังกล่าว ช่วงนี้สินค้าจะยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า จึงจำเป็นต้องทำการตลาดเพื่อแนะนำสินค้าสู่ตลาดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย ฯลฯ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ยอดขายยังต่ำ และมีการเติบโตอย่างช้าๆ
2. Growth (ช่วงสินค้าได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว) เป็นช่วงที่ 2 หลังจากทำการตลาดในช่วงแรกไปแล้ว เมื่อลูกค้าเริ่มรู้จักสินค้าทดลองใช้ และบอกต่อ ร้านค้าต่างๆ ที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายเริ่มรู้จักและแนะนำให้ลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูงในการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้สินค้าติดตลาด
3. Maturity (ช่วงสินค้าติดตลาด) เป็นช่วงที่ 3 หลังจากลูกค้าได้ทดลองใช้และพอใจในสินค้า ก็เริ่มใช้เป็นประจำจึงมียอดขายอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันความจำเป็นในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ลดลง เนื่องจากสินค้าเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำตลาดลดลงกว่าช่วงแรกและช่วงที่ 2 ทำให้เป็นช่วงที่สร้างกำไรได้มากที่สุด
4. Decline (ช่วงสินค้าตกต่ำ) เป็นช่วงที่ 4 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงสุดท้ายในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เมื่อสินค้าติดตลาดเป็นที่ต้องการของลูกค้า ย่อมมีคู่แข่งเข้ามาทำตลาดสินค้าแบบเดียวกัน ลูกค้าประเภทที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้าก็จะไปทดลองสินค้าใหม่ และอาจมีบางส่วนที่เลิกใช้สินค้าเดิมไปเลย ทำให้ยอดขายของสินค้าตกลงเรื่อยๆ ลูกค้าใหม่ก็แทบไม่มีเนื่องจากสินค้าลดการทำตลาดลงตั้งแต่ช่วงที่ 3 แล้ว ทำให้ไม่ได้ยอดขายจากกลุ่มลูกค้าใหม่ ในขณะที่ยอดขายจากกลุ่มลูกค้าเก่าลดลง จึงเป็นช่วงที่สินค้าเริ่มตกต่ำ และค่อยๆ หายไปจากตลาดในที่สุด
กลยุทธ์โดยทั่วไปในการทำ Promotion เมื่อพิจารณาถึง Product Life Cycle
1. ช่วง Introduction เป็นช่วงที่ต้องการสร้างการรับรู้สินค้าใหม่ สร้างความสนใจและความแตกต่างในคุณสมบัติของสินค้า สร้างการทดลองซื้อ มีการตอกย้ำบ่อยๆ จนผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าสินค้าดี น่าทดลองใช้ ตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ โฆษณาทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ใช้รถโฆษณา จัดประชาสัมพันธ์ ณ จุดขายต่างๆ หรือแจกตัวอย่างสินค้า
2. ช่วง Growth เป็นช่วงที่ต้องทำให้ผู้บริโภคที่ทดลองใช้แล้วให้จดจำสินค้าได้ ให้ซื้อซ้ำจนมั่นใจว่าผู้บริโภคได้ทดลอง และมีความมั่นใจในตัวสินค้าจนกระทั่งเกิดความจงรักภักดีกับสินค้า เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากที่สุด กลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ การใช้สื่อ พนักงานขาย ณ จุดขายต่างๆ จัดการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการซื้อซ้ำ เช่น การให้คูปองลดราคาเมื่อซื้อชิ้นต่อไป
3. ช่วง Maturity เป็นช่วงที่ต้องทำกำไรสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ จึงต้องตอกย้ำความมั่นใจในสินค้าแก่ลูกค้าเป็นระยะๆ หรือออกสินค้าที่ปรับปรุงดัดแปลง (minor change) เพื่อแสดงถึงการพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ ภายใต้จุดเด่นเดิมของสินค้า และเพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
4. ช่วง Decline เป็นช่วงที่มียอดขายและกำไรตกต่ำ จึงต้องเน้นการขายออกให้เร็ว ให้ได้มากที่สุดก่อนจะออกจากตลาดไป กลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ กลยุทธ์ด้านราคา เช่น การลดราคาลง
สินค้าทุกชนิดจะมี Product Life Cycle ของตนเอง จะสั้นจะยาวก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า และตำแหน่งของผลิตภัณฑ์นั้นที่เจ้าของสินค้้าต้องการ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เจ้าของสินค้าต้องการให้เป็นผู้นำตลาด เจ้าของสินค้าย่อมทำตลาดอย่างต่อเนื่องทุกๆช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ และจะพยายามยืดช่วง Maturity ออกไปให้นานที่สุด ทำให้ Product Life Cycle ของสินค้าพวกนี้นานกว่าสินค้าประเภทแฟชั่นที่เจ้าของสินค้ามักจะทำตลาดแบบฉาบฉวย คือรีบประชาสัมพันธ์และขายให้หมดอย่างรวดเร็ว เพราะรู้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้มักจะไม่ซื้อซ้ำ และไม่มีความจงรักภักดีต่อสินค้า
ดังนั้นแต่ละประเภทของธุรกิจจะต้องเข้าใจ Product Life Cycle และติดตามว่าสินค้าของตนอยู่ในช่วงใด โดยพิจารณาจากยอดขายของสินค้าเมื่อเปรียบเทียบกับแผนการตลาดที่ทำออกไป ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้า สภาพการแข่งขันของคู่แข่งเดิม การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ กำไรจากสินค้า ความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้า ความง่ายและความเร็วของการตัดสินใจของลูกค้าในการใช้สินค้าของคู่แข่งหรือสินค้าทดแทน ฯลฯ ซึ่งป้ัจจัยทั้งหมดล้วนสำคัญต่อธุรกิจในการวางแผนในการปรับตัวเมื่อสินค้าเข้าสู่แต่ละช่วงของ Product Life Cycle
นอกจากการกำหนดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mixs) ในแต่ละช่วงของ Product Life Cycle แล้ว การดำเนินการด้านปฎิบัติการก็สำคัญเช่นกัน ดังนั้นกลยุทธ์การดำเนินการด้านปฎิบัติการสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ ในแต่ละช่วงของ Product Life Cycle มีดังต่อไปนี้
ธุรกิจประเภทค้าขาย
- ช่วง Introduction สั่งซื้อในจำนวนที่น้อยก่อน ยอมรับต้นทุนต่อหน่วยที่สูง แต่มีความปลอดภัยหากสินค้าไม่ได้รับความนิยม ทำให้สามารถออกจากตลาดได้เร็ว
- ช่วง Growth สั่งซื้อให้สินค้าเข้ามาทันต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่าให้สินค้าขาดตลาด จนต้องสร้างการรับรู้ใหม่ ยอมรับต้นทุนต่อหน่วยที่สูง เพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด
- ช่วง Maturity ต่อรองเรื่องต้นทุนต่อหน่วย หาวิธีลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง หาสินค้าที่ปรับปรุงต่อยอดจากสินค้าเดิมเข้ามาขาย สร้างความแปลกใหม่ให้สินค้าในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- ช่วง Decline วางแผนการหยุดสั่งซื้อ ระบายสินค้าออกให้เร็วที่สุดโดยใช้กลยุทธ์ราคา อย่าหวังกำไรกับต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำๆ
- ช่วง Introduction สั่งซื้อในจำนวนที่น้อยก่อน ยอมรับต้นทุนต่อหน่วยที่สูง แต่มีความปลอดภัยหากสินค้าไม่ได้รับความนิยม ทำให้สามารถออกจากตลาดได้เร็ว
- ช่วง Growth สั่งซื้อให้สินค้าเข้ามาทันต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่าให้สินค้าขาดตลาด จนต้องสร้างการรับรู้ใหม่ ยอมรับต้นทุนต่อหน่วยที่สูง เพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด
- ช่วง Maturity ต่อรองเรื่องต้นทุนต่อหน่วย หาวิธีลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง หาสินค้าที่ปรับปรุงต่อยอดจากสินค้าเดิมเข้ามาขาย สร้างความแปลกใหม่ให้สินค้าในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- ช่วง Decline วางแผนการหยุดสั่งซื้อ ระบายสินค้าออกให้เร็วที่สุดโดยใช้กลยุทธ์ราคา อย่าหวังกำไรกับต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำๆ
ธุรกิจประเภทให้บริการ
- ช่วง Introduction สร้างพนักงานที่ให้บริการได้ดีในจำนวนที่ไม่มาก แต่เพียงพอกับลูกค้าในช่วงแรก โดยให้ผลตอบแทนสูง
- ช่วง Growth รับพนักงานเข้ามาเพิ่มอย่างรวดเร็ว จูงใจพนักงานให้ทำงานอย่างเต็มที่และทันความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มอย่างรวดเร็วด้วยผลตอบแทนทั้งตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน อบรมอย่างพี่สอนน้อง กำหนดเป็นมาตรฐานการบริการขึ้นมาเพื่อให้พนักงานทำงานได้มาตรฐานเดียวกันทุกคน
- ช่วง Maturity ฝึกอบรมพนักงานบริการด้วยระบบการสอนและฝึกหัดที่เป็นมาตรฐาน สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอ ให้ระบบผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและผลการทำงาน รักษาพนักงานที่ดีไว้และปรับลดพนักงานที่ไม่ดีออก ปรับปรุงเพิ่มเติมบริการใหม่ๆ ที่ต่อยอดการบริการเดิม
- ช่วง Decline วางแผนการให้บริการอื่นแทนการบริการเดิมอย่างรวดเร็ว ฝึกอบรมพนักงานให้รองรับบริการใหม่ให้ได้ ใช้กลยุทธ์ราคาเพื่อสร้างยอดขายช่วงสุดท้ายเพื่อเอาเงินมาหล่อเลี้ยงค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง
- ช่วง Introduction สร้างพนักงานที่ให้บริการได้ดีในจำนวนที่ไม่มาก แต่เพียงพอกับลูกค้าในช่วงแรก โดยให้ผลตอบแทนสูง
- ช่วง Growth รับพนักงานเข้ามาเพิ่มอย่างรวดเร็ว จูงใจพนักงานให้ทำงานอย่างเต็มที่และทันความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มอย่างรวดเร็วด้วยผลตอบแทนทั้งตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน อบรมอย่างพี่สอนน้อง กำหนดเป็นมาตรฐานการบริการขึ้นมาเพื่อให้พนักงานทำงานได้มาตรฐานเดียวกันทุกคน
- ช่วง Maturity ฝึกอบรมพนักงานบริการด้วยระบบการสอนและฝึกหัดที่เป็นมาตรฐาน สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอ ให้ระบบผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและผลการทำงาน รักษาพนักงานที่ดีไว้และปรับลดพนักงานที่ไม่ดีออก ปรับปรุงเพิ่มเติมบริการใหม่ๆ ที่ต่อยอดการบริการเดิม
- ช่วง Decline วางแผนการให้บริการอื่นแทนการบริการเดิมอย่างรวดเร็ว ฝึกอบรมพนักงานให้รองรับบริการใหม่ให้ได้ ใช้กลยุทธ์ราคาเพื่อสร้างยอดขายช่วงสุดท้ายเพื่อเอาเงินมาหล่อเลี้ยงค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง
ธุรกิจประเภทการผลิต
- ช่วง Introduction เน้นการผลิตด้วยวิธี Manual จนมั่นใจว่าสินค้ามีแนวโน้มติดตลาด วางแผนการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์และหาพนักงานมาทำงานได้ทันที
- ช่วง Growth ติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อมกับเพิ่มพนักงาน เน้นการผลิตให้ทันกับยอดขาย ต้องยอมจ่ายค่าล่วงเวลา
- ช่วง Maturity คาดการณ์ว่าควรขยายการผลิตอย่างไรให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและคนเพื่อลดต้นทุน วางแผนการปรับเปลี่ยนสายการผลิตให้ยืดหยุ่นกับการผลิตสินค้าที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ช่วง Decline วางแผนการนำสายการผลิตไปใช้การผลิตสินค้าอื่นอย่างรวดเร็ว เตรียมความพร้อมของพนักงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้อย่างรวดเร็วโดยไม่หวังกำไร
- ช่วง Introduction เน้นการผลิตด้วยวิธี Manual จนมั่นใจว่าสินค้ามีแนวโน้มติดตลาด วางแผนการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์และหาพนักงานมาทำงานได้ทันที
- ช่วง Growth ติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อมกับเพิ่มพนักงาน เน้นการผลิตให้ทันกับยอดขาย ต้องยอมจ่ายค่าล่วงเวลา
- ช่วง Maturity คาดการณ์ว่าควรขยายการผลิตอย่างไรให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรและคนเพื่อลดต้นทุน วางแผนการปรับเปลี่ยนสายการผลิตให้ยืดหยุ่นกับการผลิตสินค้าที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ช่วง Decline วางแผนการนำสายการผลิตไปใช้การผลิตสินค้าอื่นอย่างรวดเร็ว เตรียมความพร้อมของพนักงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้อย่างรวดเร็วโดยไม่หวังกำไร
สำหรับธุรกิจประเภทอื่นๆ ต้องนำไปประยุกต์ใช้เองครับ ส่วนเคล็ดลับการวางแผนกลยุทธ์ระดับสูงกว่านี้ ต้องว่ากันตัวต่อตัวตามประเภทของธุรกิจกันอีกทีครับ (ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว)
คลิป"วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์" - http://mmd.rmutp.ac.th/play_video.php?mm_id=86
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วัฒนธรรม culture
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
- ภาษา
- ศาสนา
- คุณค่าและทัศนคติ
- ประเพณี
- การศึกษา
- สถาบันทางสังคม
- รสนิยมทางศิลปะ
Cultural Imperialism - การเข้าไปล่าอาณานิคม
Creolization - การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรม
Cultural War - สงครามทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
- ภาษา
- ศาสนา
- คุณค่าและทัศนคติ
- ประเพณี
- การศึกษา
- สถาบันทางสังคม
- รสนิยมทางศิลปะ
Cultural Imperialism - การเข้าไปล่าอาณานิคม
Creolization - การกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรม
Cultural War - สงครามทางวัฒนธรรม
วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ระบบกฎหมาย
ระบบกฎหมาย
กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น
ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น
ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น
ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น
ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น
ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น
ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
***นอกจากกฎหมายที่อาจารย์สอนในห้อง 3 ระบบหลักแร้ว ก้จะมีระบบกฎหมายที่ 4 คือ ระบบกฎหมายผสมผสาน(Pluralistic Systems) ซึ่งเป็นการผสมผสานระบบกฎหมายอย่างน้อย 2 ระบบเข้าด้วยกัน
ps. อัพบล็อกช้า ขอโทดนะคะอาจารย์ นู๋เป็นไข้หวัดอ่าค่ะ (-_+)"
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
IB321
โลกาภิวัฒน์ (Globalization) คือ "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"
ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร
การจัดแผนกงาน (Departmentalization) คือ การแบ่งลักษณะงานขององค์กรที่ซับซ้อนให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นหน่วยเล็กลงที่เรียกว่าฝ่ายหรือแผนกงาน (Department)
ประธานกรรมการ เป็นผู้ควบคุมกิจการการดำเนินงานทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดูแลรักษาผลประโยชน์
ของ บริษัท คิดนโยบายการบริหาร
ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่วางแผนและปฏิบัติตามแนวความคิด การกำหนดราคา การส่งเสริมการตลาด
และการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการ
และความเป็นอยู่ของพนักงานภายในองค์กร
ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่คอยกำกับดูแลตรวจสอบการเงิน จำนวนรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน รายการ
จัดซื้อวัตถุดิบ การบริหารการเงิน
ฝ่ายการผลิต มีหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิต เช่น การจัดทำงบประมาณการผลิต กำหนด
รายการวัสดุ วางแผนกรรมวิธี ควบคุมการผลิต ติดตามงาน ควบคุมวัสดุคงคลัง
ฝ่ายบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของบริษัท
แผนกส่งออก เป็นแผนกที่นำสินค้าที่ผลิตแล้วจัดส่งออกไปจำหน่าย โดยใช้บุคลากรชุดหนึ่งแยก
จากแผนกอื่นๆ และมีการดูแลการส่งออกไปยังต่างประเทศ
แผนกจัดซื้อ เป็นแผนกจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตสินค้า ทำหน้าที่พิจารณาถึงชนิด คุณภาพ
ปริมาณในการซื้อและแหล่งที่จะซื้อ คำนึงถึงงบประมาณที่จะซื้อในแต่ละครั้ง
สภาพแวดล้อมต่างๆ (Environment)
1.ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ค่านิยมทางสังคม : ควรศึกษาค่านิยมที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม
- วัฒนธรรมและประเพณี : ศึกษาความแตกต่างของวัฒนธรรมและประเพณีในประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- โครงสร้างทางสังคม : ศึกษาจำนวนประชากร วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- ภาษา (Language) : เรียนรู้ภาษาทั้งพูดและเขียน กิริยาท่าทาง
- ศาสนา (Religion) : ศึกษาและทำความเข้าใจศาสนาและความเชื่อของประเทศที่จะทำธุรกิจ
2.ด้านการเมืองและกฎหมาย
- ศึกษากฎหมายของประเทศที่จะทำธุรกิจให้เข้าใจ และติดตามข่าวทางด้านการเมืองของประเทศนั้นๆ เพื่อประโยชน์และความคุ้มค่าของการลงทุนทำธุรกิจ
3.ด้านเศรษฐกิจ
- ศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศที่จะทำธุรกิจ เพื่อการวางแผนในการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค
กลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategies) คือ การวางแผนในการทำธุรกิจของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีแผนหรือวิธีการแตกต่างกันไป ตามแต่ธุรกิจที่ทำ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมากที่สุด สามารถทำให้สินค้าของเราเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีความน่าเชื่อถือ โดยหวังผลกำไรมากที่สุดและใช้ต้นทุนต่ำที่สุด
ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร
การจัดแผนกงาน (Departmentalization) คือ การแบ่งลักษณะงานขององค์กรที่ซับซ้อนให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นหน่วยเล็กลงที่เรียกว่าฝ่ายหรือแผนกงาน (Department)
ประธานกรรมการ เป็นผู้ควบคุมกิจการการดำเนินงานทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดูแลรักษาผลประโยชน์
ของ บริษัท คิดนโยบายการบริหาร
ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่วางแผนและปฏิบัติตามแนวความคิด การกำหนดราคา การส่งเสริมการตลาด
และการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการ
และความเป็นอยู่ของพนักงานภายในองค์กร
ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่คอยกำกับดูแลตรวจสอบการเงิน จำนวนรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน รายการ
จัดซื้อวัตถุดิบ การบริหารการเงิน
ฝ่ายการผลิต มีหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิต เช่น การจัดทำงบประมาณการผลิต กำหนด
รายการวัสดุ วางแผนกรรมวิธี ควบคุมการผลิต ติดตามงาน ควบคุมวัสดุคงคลัง
ฝ่ายบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของบริษัท
แผนกส่งออก เป็นแผนกที่นำสินค้าที่ผลิตแล้วจัดส่งออกไปจำหน่าย โดยใช้บุคลากรชุดหนึ่งแยก
จากแผนกอื่นๆ และมีการดูแลการส่งออกไปยังต่างประเทศ
แผนกจัดซื้อ เป็นแผนกจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตสินค้า ทำหน้าที่พิจารณาถึงชนิด คุณภาพ
ปริมาณในการซื้อและแหล่งที่จะซื้อ คำนึงถึงงบประมาณที่จะซื้อในแต่ละครั้ง
สภาพแวดล้อมต่างๆ (Environment)
1.ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ค่านิยมทางสังคม : ควรศึกษาค่านิยมที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม
- วัฒนธรรมและประเพณี : ศึกษาความแตกต่างของวัฒนธรรมและประเพณีในประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- โครงสร้างทางสังคม : ศึกษาจำนวนประชากร วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศที่เราจะทำธุรกิจ
- ภาษา (Language) : เรียนรู้ภาษาทั้งพูดและเขียน กิริยาท่าทาง
- ศาสนา (Religion) : ศึกษาและทำความเข้าใจศาสนาและความเชื่อของประเทศที่จะทำธุรกิจ
2.ด้านการเมืองและกฎหมาย
- ศึกษากฎหมายของประเทศที่จะทำธุรกิจให้เข้าใจ และติดตามข่าวทางด้านการเมืองของประเทศนั้นๆ เพื่อประโยชน์และความคุ้มค่าของการลงทุนทำธุรกิจ
3.ด้านเศรษฐกิจ
- ศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศที่จะทำธุรกิจ เพื่อการวางแผนในการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค
กลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategies) คือ การวางแผนในการทำธุรกิจของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีแผนหรือวิธีการแตกต่างกันไป ตามแต่ธุรกิจที่ทำ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมากที่สุด สามารถทำให้สินค้าของเราเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีความน่าเชื่อถือ โดยหวังผลกำไรมากที่สุดและใช้ต้นทุนต่ำที่สุด
Globalization & International Business
ประเทศที่ได้อันดับ 1 จากการจัดอันดับประเทศที่เป็นโลกาภิวัฒน์มากที่สุด คือ ประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจาก ประเทศเบลเยี่ยม เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาสูง ประเทศเบลเยี่ยมเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรม มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี
ธุรกิจระหว่างประเทศ คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร
สาเหตุของความเจริญเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศ
1.การเจรจาการค้าระหว่างประเทศและการทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศ
2.การสร้างสรรค์ความปรารถนาในสินค้าและบริการที่เหนือกว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
3.การแพร่กระจายของเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน
4.การขนส่งที่รวดเร็วขึ้น
5.การเฉลี่ยต้นทุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
6.การพัฒนาของเครื่องมือรองรับธุรกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
โลกาภิวัฒน์ มีความสำคัญต่อ ธุรกิจระหว่างประเทศ มาก เนื่องจากว่า โลกาภิวัฒน์ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และทั่วถึง ทำให้มีการกระจายรายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อ้างอิง http://globalization.kof.ethz.ch/
อ้างอิง http://gotoknow.org/file/makkaroon/international_bus.ppt1.ppt
ธุรกิจระหว่างประเทศ คือ ธุรกิจต่าง ๆ ในภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร
สาเหตุของความเจริญเติบโตของธุรกิจระหว่างประเทศ
1.การเจรจาการค้าระหว่างประเทศและการทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศ
2.การสร้างสรรค์ความปรารถนาในสินค้าและบริการที่เหนือกว่าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
3.การแพร่กระจายของเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน
4.การขนส่งที่รวดเร็วขึ้น
5.การเฉลี่ยต้นทุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
6.การพัฒนาของเครื่องมือรองรับธุรกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
โลกาภิวัฒน์ มีความสำคัญต่อ ธุรกิจระหว่างประเทศ มาก เนื่องจากว่า โลกาภิวัฒน์ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และทั่วถึง ทำให้มีการกระจายรายได้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อ้างอิง http://globalization.kof.ethz.ch/
อ้างอิง http://gotoknow.org/file/makkaroon/international_bus.ppt1.ppt
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552
textbook
สวัสดีค่ะ ชาว IBM
สำหรับเทอมนี้ นอกจากหนังสือเรียนภาษาไทยแล้ว ครูยังเพิ่ม textbook ภาษาอังกฤษให้พวกเราอ่านแก้ง่วงด้วยอีกเล่ม ชื่อ International Business : Environments and Operations (12/e) โดย Daniels, Radebaugh, and Sullivan
ps. นู๋ว่า...นู๋ต้องง่วงกว่าเดิมแน่เรยค่ะอาจารย์ ความรู้ภาษาอังกิดยิ่งดีเลิศ คงแปลไม่ออก หลับแน่แท้ 55+
สำหรับเทอมนี้ นอกจากหนังสือเรียนภาษาไทยแล้ว ครูยังเพิ่ม textbook ภาษาอังกฤษให้พวกเราอ่านแก้ง่วงด้วยอีกเล่ม ชื่อ International Business : Environments and Operations (12/e) โดย Daniels, Radebaugh, and Sullivan
ps. นู๋ว่า...นู๋ต้องง่วงกว่าเดิมแน่เรยค่ะอาจารย์ ความรู้ภาษาอังกิดยิ่งดีเลิศ คงแปลไม่ออก หลับแน่แท้ 55+
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โลกาภิวัฒน์
โลกาภิวัฒน์ (Globalization) คือ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การคมนาคมขนส่ง การติดต่อสื่อสาร ประชากรของโลกถูกหลอมหลวมเป็นสังคมเดียว ทำให้การรับรู้ข่าวสารต่างๆเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม-วัฒนธรรม ทั่วทั้งโลก
ความสำคัญและประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์ คือ
1.การติดต่อสื่อสาร - ทำให้การติดต่อสื่อสาร สะดวก รวดเร็ว ขึ้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายแม้จะอยู่ห่างไกล
2.การขนส่ง - ทำให้ย่นระยะเวลาในการขนส่ง เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเดินทาง
3.การเมือง - สามารถติดต่อปรึกษาด้านการเมืองการปกครองกันได้ง่าย ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดี
4.เศรษฐกิจ - มีตลาดร่วมของโลกในการติดต่อค้าขายกัน สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและทุนได้สะดวก
5.สังคม - สามารถบอกข่าวสารให้รับรู้ทั่วถึงกันทั้งโลกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง
6.วัฒนธรรม - ทำให้สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของต่างชาติได้ ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่น และอาจจะเกิดวัฒนธรรมประเภทใหม่ได้
7.การเงิน - ทำให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและทั่วถึง
8.อุตสาหกรรม - เกิดตลาดการผลิตขึ้นทั่วโลก และมีช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้กว้างขึ้น
9.นิเวศวิทยา - เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาระดับโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org
ความสำคัญและประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์ คือ
1.การติดต่อสื่อสาร - ทำให้การติดต่อสื่อสาร สะดวก รวดเร็ว ขึ้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายแม้จะอยู่ห่างไกล
2.การขนส่ง - ทำให้ย่นระยะเวลาในการขนส่ง เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเดินทาง
3.การเมือง - สามารถติดต่อปรึกษาด้านการเมืองการปกครองกันได้ง่าย ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดี
4.เศรษฐกิจ - มีตลาดร่วมของโลกในการติดต่อค้าขายกัน สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและทุนได้สะดวก
5.สังคม - สามารถบอกข่าวสารให้รับรู้ทั่วถึงกันทั้งโลกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง
6.วัฒนธรรม - ทำให้สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของต่างชาติได้ ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่น และอาจจะเกิดวัฒนธรรมประเภทใหม่ได้
7.การเงิน - ทำให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและทั่วถึง
8.อุตสาหกรรม - เกิดตลาดการผลิตขึ้นทั่วโลก และมีช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้กว้างขึ้น
9.นิเวศวิทยา - เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาระดับโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)